วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผลกระทบจากการปฏิวัติดอกมะลิ (Jasmine Revolution’s Effect)


บทความ/ทัศนะ

ผลกระทบจากการปฏิวัติดอกมะลิ (Jasmine Revolution’s Effect)

ยุทธ อิสระไท

สำนักคิดอิสระไท





ภาค ๑

ถอดรหัส



ในขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทยอยู่ในภาวะตึงเครียดจากปัญหาชายแดนด้านเขมร รวมทั้งการเมืองในประเทศก็อยู่ในระยะเข้มข้น ทั้งจากการขับเคลื่อนของขบวนพันธมิตร และขบวนเสื้อแดง โดยมีรัฐบาลอภิสิทธิ์ เป็นเป้าหมายร่วม โดยมิได้นัดหมาย

ขบวนการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทุกขบวน ก็อยู่ในระยะปรับตัว ขยับให้เข้าที่เข้าทาง อย่างคึกคัก เช่นเดียวกับสำนักคิด ทฤษฏี เริ่มเบ่งบาน พร้อมแข่งขันประชันเสียง...

สำนักคิดอิสระไท ตั้งใจ มีใจ ใส่ใจ ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ของขบวนการต่อสู้ของประชาชน มุ่งแสวงหาหนทาง นวัตรกรรม การค้นพบใหม่ ในแนวทางการเคลื่อนไหว ต่อสู้ของขบวนการประชาชนทั่วโลก ที่น่าจะนำมาประยุกต์กับการเคลื่อนไหวทางสังคมไทย ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้อง

เพื่อสร้างเสริมเติมเต็มขบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เสมือนโดน “แช่แข็ง” ใว้ในตู้เกียรติยศแห่งประวัติศาสตร์ภาคประชาชน ยาวนานมาแล้วไม่น้อยกว่าสามสิบปี และเพิ่งจะกลับมามีชีวิตชีวา ในความพยายามจะฟื้นชีวิตองค์กรนำที่เคยมีบทบาทสูงเด่นนั้นอีกครั้ง

เมื่อฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาจริง จะได้ไม่เห็นแต่เพียงสิ่งที่เป็น อดีตอันเคยรุ่งโรจน์ กับ ความคิดชี้นำดั้งเดิม ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีชุดเดิม องค์ความรู้บทเดิม ตำราเล่มเดิม ซึ่งแม้มีสาระสำคัญที่ยังคงเป็นสัจธรรมสัมบูรณ์อยู่ก็ตาม แต่สภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปไกลในระยะกว่าสามสิปปีที่ผ่านมา จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มเติมองค์ความรู้ใหม่ ๆ  เพื่อความรู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงอันเป็นสัจจธรรมนิรันด์กาล...

ดังเช่นสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่ง ใช้เวลาบ่มเพาะปัญหาสั่งสมยาวนานกว่าสามสิบปี ด้วยประกายไฟแวบเดียวก็จุดติด และใช้เวลาอีกเพียง  ๒๘ วันในการลุกขึ้นสู้ของประชาชนแห่งตูนิเซียจนโค่นล้มผู้นำจอมเผด็จการที่ครองอำนาจยาวนานได้ด้วยพลังใหม่ในทางสังคม และด้วยเครื่องมือการต่อสู้ใหม่ล่าสุด ก่อนที่จะลามไปยังประเทศข้างเคียงอีกกว่าสิบประเทศ...อันเป็นที่มาของปรากฏการณ์ใหม่ที่เรียกว่า “การปฏิวัติดอกมะลิ” ดังมีสาระที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้....

ที่มา ; จากดอกกุหลาบ ถึง ดอกมะลิ

เมื่อไล่เรียงที่มาของ “การปฏิวัติดอกมะลิ” ที่แสดงกระบวนการเชิงวาทกรรม กับ การใช้สัญญลักษณ์ในการเร่งเร้า อารมณ์ และระดมผู้คนเข้าร่วมการขับเคลื่อนทางสังคม เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทางสังคมในภูมิภาคหนึ่งๆ  ดังนี้..

จากเหตุการณ์ในตูนิเซีย เริ่มจาก นาย Mohamed Bouazizi วัย 26 ปี  ตกงานและต้องหารายได้เลี้ยงดูคนในครอบครัว 8 คน เขาจึงเข็นรถขายผักที่ไม่มีใบอนุญาติไปตามเมือง Sidi Bouzid  ทางตอนใต้ของตูนิเซีย จนเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2010  โดนตำรวจหญิงยึดรถเข็นขายผักไป  ด้วยไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นจึงพยายามจ่ายเงิน 10 ดีน่า แต่กลับโดนตำรวจหญิงคนนั้นตบหน้า ถ่มน้ำลายใส่หน้า และดูถูกพ่อของเขา  เขาก็เลยไปร้องเรียนที่ provincial headquarters  แต่สิ่งที่ได้รับคือ การไม่สนใจและการได้รับการปฎิบัติแบบกากเดน ไม่มีค่า เป็นพลเมืองขยะ เขาจึงโมโห แล้วไปพ่นสี เขียนข้อความด่าตามที่สาธารณะ ก่อนจะจุดไฟเผาตัวเองเสียชีวิต เพื่อประท้วงเจ้าหน้าที่ทางการนั่นเอง

เหตุการณ์ดังกล่าวนำสู่การรวมตัวของประชาชนเพื่อประท้วงในวันถัดมาในเมือง  Sidi Bouzid และเริ่มขยายใหญ่ขึ้น เมื่อมีการส่งข่าวกันทาง facebook youtube จนลุกลามนำไปสู่การประท้วงขับไล่ประธานาธิบดี  Zine el Abidine Ben Ali  จนต้องขอลี้ภัยที่ประเทศซาอุ และเปลี่ยนรัฐบาล 

ปรากฎการณ์การขับไล่รัฐบาลนี้ สื่อต่างๆ ในประเทศตะวันตก พากันเรียกว่า "jasmine revolution" หรือบางทีก้เรียกว่า "Sidi Bouzid Intifadah"" แปลว่า การประท้วงการกดขี่ในเมือง Sidi Bouzid

คำว่า jasmine revolution"  จึงเป็นสัญลักษณ์การเรียกตนเองในการประท้วงหรือสื่อเป็นผู้ตั้งให้ ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในหลายประเทศ โดยเรียกกันว่า "colour revolution" ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่วนใหญ่มักเรียกร้อง ขับไล่รัฐบาล ตามท้องถนนเรื่องการคอรัปชั่น การว่างงาน การอดอยาก เสรีภาพในการคิดการพูด ประชาธิปไตย และมักต่อต้านความรุนแรงด้วย คือ

- ปี 2003 ปรากฎการณ์ "rose revolution" ใน Georgia ที่มีการประท้วงการเลือกตั้ง โดยนายMikheil Saakashvili  เค้าเชื่อว่าเค้าชนะการเลือกตั้งโดยดูจากผล EXIT POLL แต่กลับไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล  เค้าจึงนำทีมประท้วง ที่ freedom square ในวันเปิดสภาวันแรกเค้าได้ลุกขึ้นขัดขวางการกล่าวสุนทรพจน์ของประธานธิบดี Eduard Shevardnadze  โดยนายMikheil Saakashvili   ได้ถือดอกกุหลาบอยู่ในมือ หลังจากนั้นก็นำไปสู่การเปลี่ยนอำนาจ สื่อจึงตั้งชื่อการประท้วงว่า rose revolution

- ในปี 2004 เกิด "orange revolution" ใน ยูเครนในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ก้คล้ายๆ กับการโกงการเลือกตั้งในเจอเจีย แต่ครั้งนี้เค้าใช้ริบบิ้นสีส้มในการต่อสู้

- ในปี 2005 เกิด "tulip revolution" ใน Kyrgyzstan หรือบางครั้งก้เรียกว่า pink revolution

- ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2005 เกิด "cedar revolution" ในเลบานอน ประท้วงเรื่องสิทธิของชาว syrian ในเลบานอน โดยใช้สีขาวและสีแดงของไม่ซีด้าเป็นสัญลักษณ์

- เดือนมีนาคม 2005 เกิด "blue revolution" ในคูเวต ที่กลุ่มผุ้หญิงประท้วงเรื่องสิทธิการเลือกตั้ง

- ปี 2005 เกิด "purple revolution" ในอีรัก เรื่องการเลือกตั้งที่มีอเมริกาหนุนหลัง

- ปี 2009 เกิด "green revolution" ในอิหร่าน ประท้วงเรื่องการเลือกตั้ง

ล่าสุด คือ jasmine revolution ในตูนิเซีย ที่ใช้สัญลักษณ์สีขาวในการประท้วง ในการประท้วงแบบ "colour revolution" ตามประเทศต่างๆ นั้น มีคำหนึ่งที่เค้าใช้คือคำว่า "wider Arub world"  คือ ทั้งหมดที่มีการประท้วงนั้น ล้วนอยู่ในกลุ่มโลกอาหรับทั้งสิ้น 

ถอดรหัส ปรากฏการณ์ดอกมะลิ

            แม้จนทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีการระบุความหมายชัดเจนของวาทกรรมเชิงสัญญลักษณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ก่อการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มประเทศอาฟริกาเหนือ ในนามของ ปรากฏการณ์ดอกมะลิ หรือ Jasmine Effects แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศอาฟริกาเหนือ ที่เริ่มจาก ตูนิเซีย ก่อนลุกลามสู่ประเทศอื่น ได้แก่ ซูดาน อียิปต์ จอร์แดน ฯลฯ พอที่จะจับกฏเกณฑ์ที่เป็น “ปัจจัย” แวดล้อม หรือ เหตุปัจจัยสำคัญร่วมกันได้จำนวนหนึ่งดังต่อไปนี้

ปัจจัยที่ ๑ การปกครองต่อเนื่องยาวนาน

            ผู้นำตูนิเซียอยู่ในอำนาจ ยาวนานกว่า ๒๓ ปี ขณะที่ผู้นำอียิปต์ครองอำนาจมายาวนานกว่า ๓๐ ปี เป็นสองประเทศแรกที่เกิดผลจาก Jasmine Effect  ในช่วงระยะเวลาห่างกันเพียง ๑ เดือนเท่านั้น และประเทศที่อยู่ในคิวความปั่นป่วนระลอกถัดไป เช่น เยเมน , ชาด และ จอร์แดน เป็นต้น ต่างล้วนมีผู้นำที่รองอำนาจต่อเนื่องยาวนานเกินช่วงทศวรรษที่ผ่านมาทั้งสิ้น

            ประการนี้ คือ ปัจจัย หรือ “เหตุ” พื้นฐานที่สร้างเงื่อนไขให้มีการสั่งสมความไม่พอใจในสภาพการเมือง การบริหาร การปกครองของประเทศ เบื่อหน่ายผู้นำ และเป็นไปโดยหลักจิตวิทยามวลชนพื้นฐานที่ทำให้ผู้คน สังคม มีความต้องการ “การเปลี่ยนแปลง”

ปัจจัยที่ ๒ ปกครองโดยการเผด็จอำนาจ

            ลักษณะทางการเมืองที่เป็นลักษณะร่วมประการหนึ่งของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง แถบนี้ คือ มีการปกครองในลักษณะ เผด็จการ ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช้น ปกครองโดยเผด็จการทหาร  เผด็จการโดยรัฐสภา  เผด็จการโดยระบอบกษัตริย์ เป็นต้น

            ลักษณะพื้นฐานของรัฐที่ปกครองโดยเผด็จการยาวนาน มีการริดรอนสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากยิ่งมีการกดขี่ ข่มเหง ผู้ถูกปกครองมากเท่าไหร่ ยิ่งสร้างความโหยหา ประชาธิปไตย มากกขึ้นเท่านั้น และนั่นก็คือ เหตุปัจจัยหนึ่งของ “การเปลี่ยนแปลง”

ปัจจัยที่ ๓ สภาพบ้านเมืองมีปัญหาสะสม โดยเฉพาะความยากจน และการทุจริต คอรัปชั่น

            นอกจากความเป็นเหตุเป็นผลของประเทศที่มีผู้ปกครองเผด็จอำนาจ เป็นรัฐเผด็จการอย่างต่อเนื่องยาวนานย่อมนำประเทศไปสู่ปัญหาสะสมภายในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาความยากจน และการทุจริตคอรัปชั่น ดังเห็นได้จาก คำขวัญของผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลตูนิเซีย คือ “ขนมปัง และ ประชาธิปไตย” และใช้เวลาการเคลื่อนไหวต่อเนื่องอีกรวมทั้งสิ้น ๒๘ วัน ก็สามารถก่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศได้

            ข้อเท็จจริงประการหนึ่งของประเทศที่เป็นแนวที่ได้รับผลสะเทือนต่อเนื่องของ การปฏิวัติดอกมะลิในแถบอาฟริกาเหนือ และบางประเทศในตะวันออกกลาง ที่มีทรัพยากรสำคัญ คือ น้ำมัน หรือเป็นเส้นทางขนส่ง หรือ แนววางท่อน้ำมัน ซึ่งทำให้ มีรายได้ประชาชาติอยู่ในเกณฑ์สูง ก็ตาม แต่ประชาชนส่วนใหญ่กลับมีฐานะยากจน เช่น ในกรณีในแอลจีเรียนั้น กระแสความไม่พอใจของประชาชนต่อความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายความมั่งคั่งที่ได้จากการขายน้ำมันกำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ เพราะในทุกวันนี้รายได้กว่า 95 เปอร์เซ็นต์จากการส่งออกน้ำมันกลับไปกระจุกตัวอยู่ในมือของผู้มีอำนาจทางการเมืองเพียงไม่กี่รายในประเทศ ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศกว่า 35 ล้านคนยังคงทุกข์ยากกับภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองแร้นแค้นต่อไป

            ในกรณีของเยเมนนั้น ถือเป็นประเทศที่ยากจนข้นแค้นที่สุด และพัฒนาน้อยที่สุดในโลกอาหรับ มีอัตราการว่างงานที่สูงลิ่วถึงร้อยละ 65 ของประชากร ซ้ำร้ายยังมีเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะใกล้ล่มสลายจากการที่ น้ำมันทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศกำลังจะหมดไปภายในปี 2017 อีกทั้งชาวเยเมนจำนวนมากยังไม่พอใจการบริหารประเทศภายใต้การนำของประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ที่แทบไม่มีผลงานเลยนับตั้งแต่ก้าวขึ้นมาครองอำนาจเมื่อเดือน ต.ค. 1994

            สิ่งที่เป็นความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันเสมอ ก็คือ ปัญหาความยากจน ทุกข์ยาก สะสมของประชาชนในประเทศด้อยพัฒนา มักจะมีที่มาจากการบริหารประเทศของชนชั้นปกครองที่ไม่โปร่งใส มีการทุจริต คอรัปชั่น

            ไม่เพียงแค่  ตูนีเซีย  เยเมน  และอียิปต์ เท่านั้น แต่ยังเป็นรหัสร่วมในปรากฏการณ์ ดอกมะลิ ในอีกหลายประเทศ



ปัจจัยที่ ๔ มีพลังสะสมของเยาวชน ชนชั้นกลาง และปัญญาชน

            ปัจจัยที่ว่าด้วยการสะสมพลังที่ “ปฏิบัติการ” ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสังคม ที่ดำเนินการอย่างทุ่มเท กล้าหาญ อยู่ในขณะนี้นั้น ได้แก่องค์ประกอบของผู้คน    ส่วน คือ กลุ่มชนชั้นนำ(Elite)ในส่วนที่เป็นปัญญาชนในประเทศนั้นๆ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการศึกษา ติดตาม และวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ เพื่อมากำหนด “วาระ” ในการปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงสังคม ในกรณีของอียิปต์ และตูนีเซีย ชนชั้นนำที่เป็นปัญญาชนที่มีบทบาทสำคัญในการชี้นำนั้น ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัย สื่อมวลชน และบุคลากรจากภาคธุรกิจเอกชน ขณะที่ ผู้นำทางศาสนากลุ่มเข้มข้น เช่น กลุ่มภราดรภาพ ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญในการนำมวลชนต่อสู้ กลับเข้าร่วมช่วงระยะสุดท้าย

            การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ราชการ ในองค์กรต่างๆ พนักงานในภาคธุรกิจเอกชน ผู้ประกอบการค้าอิสระ รายย่อย รวมทั้งผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ไม่มีงานทำ ต้องเป็นแรงงานแฝงในกิจการของครอบครัวและมีการสั่งสมยาวนาน  ชนชั้นกลางเกือบทั้งหมดนี้ได้รับผลกระทบจากการที่ประเทศของตนมีปัญหาเศรษฐกิจ ท่วมทับทวี จึงเป็นพลังสะสมของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เติมเชื้อไฟใว้ยาวนานนับสิบๆปี

            นอกจากนั้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามสถานการณ์โลกที่แวดล้อมกลุ่มประเทศเหล่านี้อยู่ รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ โดนเฉพาะด้านการสาธารณสุข มีผลให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป ผู้สูงวัย เพิ่มขึ้น และที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วคือ ประชากรในช่วงวัยหนุ่มสาว หรือเยาวชนนั่นเอง

            การขยายตัวทั้งในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณของกลุ่มปัญญาชน กลุ่มคนชั้นกลาง และกลุ่ม  เยาวชน เหล่านี้ เป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ที่กำลังย่างกรายเข้ามา

ปัจจัยที่ ๕ มีประกายไฟ

            เมื่อความพร้อมทางภววิสัย อันประกอบด้วยปัจจัยข้างต้นทั้งหมดลงตัว และประจุแน่นพร้อมรอการระเบิด นั้น การเกิดประกายไฟที่จะจุดติดการระเบิดขึ้นของพลังทางสังคมในประเทศนั้น  ในความหมายนี้ หมายถึง การเกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่มีผลกระทบทางสังคมอย่างกว้างขวาง เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนาย Mohamed Bouazizi ในตูนีเซีย หรือ การเชื่อมโยงกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางภววิสัย เช่น ในกรณีอียิปต์ เหล่านี้ล้วนต้องการ ประกายไฟ ที่มีแรงจุดระเบิดปัญหาที่สะสมยาวนาน อย่างเหมาะสม “ถูกที่ ถูกเวลา” จึงจะสามารถ จุดติด หรือ ก่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้

ปัจจัยที่ ๖ เป็นประเทศมุสลิม

            ปัจจัยร่วมประการสุดท้ายนี้  คือ Jasmine Effect นี้เกิดขึ้นครั้งแรกในตูนิเซีย ลามไปยังอียิปต์ และกำลังส่งผลสะเทือนยังกลุ่มประเทศภูมิภาคอาฟริกาเหนือ ได้แก่ เยเมน ชาด ลีเบีย ฯลฯ และข้ามไปยังตะวันออกกลาง ได้แก่ บาร์เรน  อิหร่าน  จอร์แดน  ซาอุดิ อาระเบีย  อิรัก  และ อาฟริกานิสถาน

            ความเชื่อมโยงของสถานการณ์นี้ คือ การส่งผลสะเทือนต่อเนื่องไปตามประเทศที่นับถือศาสมุสลิมเท่านั้น  คำถามคือทำไมต้องเป็นไปเพียงประเทศมุสลิมเท่านั้น? ทำไม จากอาฟริกาเหนือ ไม่ลุกลามต่อเนื่องไปในพื้นที่อาฟริกาตอนกลาง ทำไมโดดข้ามไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง จนถึงอาฟริกานิสถาน ?

            สมมุติฐานที่ ๑ คือ การส่งผลสะเทือนต่อเนื่อง เป็นไปตามลักษณะตามธรรมชาติ คือ ตามความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งเป็นสังคมมุสลิม

            สมมุติฐานที่ ๒  คือ มีการแทรกแซง จากงานลับใต้ดินของประเทศมหาอำนาจที่เป็นศัตรูของขบวนการก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงที่ฝังตัวอยู่ในภูมิภาคนี้ภายใต้การสนับสนุนอย่างลับๆของประเทศเหล่านี้  รวมถึงเหตุผลการทำลายความมั่นคงของการผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจพลังงาน

            สมมุติฐานที่ ๓ คือ มีการฉวยโอกาส ช่วงชิงดอกผลการต่อสู้ของประชาชน โดยขบวนการมุสลิมหัวรุนแรง ที่พยายามใช้แรงเหวี่ยงจากสถานการณ์ในตูนิซีย อียิปต์ มาสู่ความพยายามในการล้มรัฐบาล ในประเทศตน

            อย่างไรก็ตามแรงเหวี่ยงของสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่เรียกว่า Jasmine Revolution’s  Effect  ยังคงแสดงผลอย่างต่อเนื่องภูมิภาคดังกล่าวนั้น เท่าที่ผ่านมา กระบวนการเคลื่อนไหวอย่างมีพลังนี้ ใช้เวลา ๒๓ วัน ล้มผู้ปกครองตูนิเซีย และใช้เวลาเหลือเพียง ๑๘ วันก็คว่ำ รัฐบาลอียิปต์ได้ และกำลังก่อหวอดอยู่ในอีกหลายประเทศนั้น สมควรจะถอดบทเรียน องค์ความรู้ ในการต่อสู้ของภาคประชาชน ในลำดับต่อไป

ภาค ๒

ว่าด้วยกลยุทธ

            ข้อสังเกตุที่ ๑ เงื่อนไขภววิสัย และอัตวิสัยพร้อม

            ข้อสังเกตุที่ ๒ ความคิดชี้นำ คือ NSM ; New Social Movement  

            ข้อสังเกตุที่ ๓ กลยุทธ คือ “ไร้กระบวนท่า”

·       ไร้กลยุทธ ; ไร้แบบแผน ไร้ร่องรอย

·       ไร้การนำ ;  การจัดตั้งแนวนอน

·       กำหนด วัน ว. เวลา น. ; Setting  Agenda

·       เคลื่อนไหว ใน ไซเบอร์ สเปซ

·       เชื่อมการเคลื่อนไหวใน ๒ โลก

·       หัวใจ คือ เชื่มโยง และ ถักทอ

·       สู่ความสำเร็จ



.......................................

1 ความคิดเห็น:

  1. เนื่องจากเป็นช่วง Run In ของกระบวนการทางความคิดของ Blog ของ สำนักคิดอิสระไท ; ปฏิวัติความคิด ติดอาวุธปัญญา ผมเลยไปค้นงานเก่าๆ ของบรรดานักคิด นักสังเกตุการณ์ และนักปฏิบัติการทางการเปลี่ยนแปลงสังคม ทั้งหลาย มาทยอยลงเป็นการเรียกแกน้ำย่อยท่านผู้อ่านก่อน

    เรื่องนี้ คุณยุทธ อิสระไท ขียนใว้นานแล้ว หลังเกิดเหตุการณ์ในอียิปต์ไม่นาน ตอนนี้สถานการณ์คืบคลาน เคลื่อนย้าย ไปสู่สภาวะการณ์ใหม่ไม่น้อยแล้ว เพียงเอามาลงคตรวจทานความคิดกัน ว่าที่เห็นเช่นนั้น ในช่วงคาบลูกคาบดอกเช่นนั้น เมื่อเวลาเปลี่ยนไป สภาพการณ์เปลี่ยนไป ข้อมูลและความคิดเห็นของเรายังคงสะท้อนหลักการสำคัญอยู่ได้หรือไม่ ?

    นี่ละครับ ไม่ต้องเขิน อาย หรือ กลัวการเสียหน้าอะไรอีกแล้ว ตรวจสอบ ตรวจทานกันจะๆแบบนี้เลย...

    ส่วนภาค ๒ ที่ค้างเติ่งใว้เป็นปีนั้น ลงประจานอย่างนี้ ท่านผู้เขียนควรรีบเจียดเวลามาทำต่อให้เสร็จนะครับ...

    ตอบลบ